“ภาษี” เป็นสิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนตามเงื่อนไขกฎหมายที่ถูกบัญญัติไว้ เพื่อนำเงินดังกล่าวมาใช้เพื่อพัฒนาสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ในประเทศ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวม เช่น สร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน รางรถไฟ และนำไปบริหารนโยบายต่าง ๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อคนส่วนรวมในประเทศ โดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ที่เสียภาษีอากร ซึ่งภาษีดอกเบี้ยเงินฝากก็เป็นหนึ่งในภาษีที่รัฐบาลเก็บจากประชาชน แล้วภาษีดอกเบี้ยเงินฝากขอคืนได้ไหม สามารถขอคืนได้เช่นเดียวกับภาษีอื่น ๆ หรือไม่ บทความนี้มีความตอบ

รูปแบบภาษีอากรในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ก่อนจะสรุปว่าภาษีดอกเบี้ยเงินฝากขอคืนได้ไหมนั้น อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ภาษีอากรในประเทศไทยนั้นมีอะไรบ้าง โดยรูปแบบภาษีอากรในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภทหลัก ประกอบด้วย

1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยอยู่ที่ 7% ซึ่งภาษีในส่วนนี้ผู้ประกอบการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไปต่อปี มีหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บจากผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการให้กับภาครัฐ

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ จำนวนเงินที่เรียกเก็บจากกิจการต่าง ๆ ที่ยื่นจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งผู้แทนของนิติบุคคลมีตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินที่เก็บจากบุคคลธรรมดาทั่วไปในประเทศที่ประกอบอาชีพและมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยผู้ที่มีรายได้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายได้ในทุก ๆ ปีภาษี แม้ว่าจะไม่ต้องเสียภาษีในปีนั้น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีดอกเบี้ยก็ถูกนับรวมอยู่ในภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

4. ภาษีสรรพสามิต คือ เงินที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการบางประเภท ซึ่งอาจเข้าข่ายธุรกิจที่ฟุ่มเฟือยหรืออันตรายต่อสุขภาพ ทำให้มีเหตุผลที่ต้องรับภาระทางภาษีสูงกว่ากิจการประเภทอื่น ๆ เช่น สุรา บุหรี่ เป็นต้น

5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ เงินที่เรียกเก็บจากกิจการที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น กิจการธนาคาร ประกันชีวิต การรับจำนำหรือการขายอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินเพื่อการค้ากำไร เป็นต้น

6. ภาษีศุลกากร คือ เงินที่เรียกเก็บจากกิจกรรมนำเข้าหรือส่งออก โดยภาษีประเภทนี้มีหน้าที่อีกประการคือ เป็นตัวช่วยป้องกันอุตสาหกรรมและราคาสินค้าในประเทศ ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศก็มีความพยายามที่จะหารือเพื่อลดกำแพงภาษีประเภทนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการค้าระหว่างประเทศสะดวกขึ้น

7. อากรแสตมป์ คือ เงินภาษีที่เรียกเก็บจากการทำสัญญาต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น สัญญากู้ยืม สัญญาเช่าที่ เป็นต้น

8. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินที่ถูกเรียกจัดเก็บไว้ล่วงหน้า ถูกหักไว้ตั้งแต่มีการจ่ายเงินระหว่างคู่ค้าที่มีธุรกรรมการเงินระหว่างกัน โดยดอกเบี้ยเงินฝากก็เป็นภาษีหนึ่งที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกัน โดยจะถูกหักไว้ 15% หากผู้ฝากเงินมีรายได้จากดอกเบี้ยในปีภาษีนั้นเกินกว่า 20,000 บาท ซึ่งคำถามที่ว่าภาษีดอกเบี้ยเงินฝากขอคืนได้ไหม ต้องไปดูรูปแบบวิธีการยื่นและขอคืนภาษีจึงจะสามารถบอกได้ชัดเจนขึ้น

ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากขอคืนได้ไหม

หลักการยื่นภาษีและการขอภาษี เรื่องพื้นฐานที่ผู้มีรายได้ทุกคนควรรู้

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปต่อจากปีภาษี โดยผู้ยื่นภาษีต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากนั้นให้แนบเอกสารประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จำเป็น ได้แก่ เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าเช่า เป็นต้น เอกสารแสดงค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนภาษี เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ หลักฐานการอุปการะบิดามารดา เช่น ใบรับรองอายุของบิดามารดาว่ามีอายุเกิน 60 ปี ซึ่งการยื่นภาษีนั้นสามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ รูปแบบออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากร

ส่วนคำถามที่ว่าภาษีดอกเบี้ยเงินฝากขอคืนได้ไหม คำตอบคือ “ขอคืนได้” แต่มีข้อแม้ว่าหากจะให้เกิดความคุ้มค่า รายได้สุทธิที่เป็นฐานภาษีของผู้ที่ยื่นเสียภาษีนั้นจะต้องมีน้อยกว่า 15% จึงควรขอคืนภาษีดอกเบี้ยที่ถูกหักไว้ ซึ่งขั้นตอนการขอคืนภาษีก็ไม่ยุ่งยากอะไรเลย เพียงแค่ต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับภาษีที่ต้องเสียและภาษีที่ชำระไว้ล่วงหน้าในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งหลังจากยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว กรมสรรพากรจะตรวจสอบข้อมูลและแจ้งผลการพิจารณาคืนภาษีภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากกรมสรรพากรพิจารณาอนุมัติให้คืนภาษี กรมสรรพากรจะโอนเงินคืนภาษีเข้าบัญชีธนาคารที่ผู้ยื่นภาษีได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สรุปคำถามที่ว่าภาษีดอกเบี้ยเงินฝากขอคืนได้ไหม คำตอบคือ ได้แน่นอน 100% หากรายได้สุทธิของผู้ที่ยื่นภาษีไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเสียภาษี ซึ่งในส่วนนี้ขอให้จัดเตรียมข้อมูลเอกสารสำหรับยื่นภาษีให้ครบถ้วน เท่านี้ก็จะได้รับดอกเบี้ยภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายคืนอย่างแน่นอน